หลักสูตรปริญญาตรี
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการ)

Bachelor of Economics Program in Agribusiness Economics and Management
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562 (ปีการศึกษา 2562-2566)
อ่านรายละเอียดหลักสูตร
วิดีโอ: รู้สึกอย่างไร..กับเศรษฐศาสตร์เกษตร

ปรัชญาหลักสูตร

หลักสูตร มุ่งผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ทางเศรษฐศาสตร์และการจัดการธุรกิจเกษตร ในการทำความเข้าใจปัญหา ระดับมหภาค และสามารถวิเคราะห์ปัญหาระดับจุลภาค เพื่อแก้ปัญหา หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการแปรรูปการตลาดในประเทศ และระหว่างประเทศสำหรับสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์ภาคใต้ ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลง ของกระแสเศรษฐกิจอาเซียน และโลก สามารถปฏิบัติงาน ด้านเศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการธุรกิจเกษตร ตลอดโซ่คุณค่า เพื่อตอบสนองต่อธุรกิจเกษตร และการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรภาคใต้ ประเทศ อาเซียนนอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิต ที่มีทักษะของพลเมืองในศตวรรษที่ 21 มีทักษะด้านภาษาอังกฤษมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลเทคโนโลยี มีทักษะการทำงานเป็นทีม ให้ความสำคัญกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active Learning) ที่หลากหลาย เน้นการใช้ปัญหาเป็นฐาน ในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) การใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-based Learning) การเรียนรู้โดยการบริการสังคม (Service Learning) กิจกรรมสร้างทักษะด้านต่าง ๆ ทั้งใน และนอกห้องเรียน การจัดการศึกษา ของหลักสูตรเศรษฐศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการ จึงเป็นการจัดการที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome Based Education) โดยการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งพัฒนาคนให้เป็นกำลังหลักของสังคม

คุณลักษณะที่พึงประสงค์
(Graduate Attributes)

  • ปฏิบัติตนอย่างมีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม
  • สามารถทำงานเป็นทีม และปรับตัวเข้ากับความหลากหลายของบริบทสังคม
  • เป็นนักเศรษฐศาสตร์เกษตร และ/หรือนักบริหารจัดการธุรกิจเกษตรที่สามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเครื่องมือที่เหมาะสม และทันต่อการเปลี่ยนแปลง
  • วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจ เศรษฐกิจการเกษตร และเสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรและธุรกิจเกษตร ในภาคใต้ และอาเซียน
  • สามารถสื่อสารได้ดี ทั้งการพูดและการเขียน ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
Program Learning Outcomes (PLOs)

  • อธิบายและประยุกต์ใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์เกษตร และการจัดการ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรและชุมชนภาคใต้
  • สามารถปฏิบัติงานด้านเศรษฐศาสตร์เกษตรและการจัดการธุรกิจเกษตรตลอดโซ่คุณค่า
  • มีทักษะการจัดการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจการเกษตรและ ธุรกิจเกษตร
  • มีทักษะการใช้ดิจิตอลเทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการ
  • มีความเป็นผู้นำ ผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจบนพื้นฐานของข้อมูล ทั้งการนำเสนอด้วยวาจา และการเขียน รวมถึงสามารถเลือกใช้รูปแบบการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
  • มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

รุ่นพี่ของเราทำงานที่ไหนกันบ้าง

เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ

  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
  • สำนักงานส่งเสริมเกษตร
  • การยางแห่งประเทศไทย
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ฯลฯ

บริษัทเอกชนชั้นนำในกลุ่มธุรกิจเกษตรของประเทศ

  • บ. ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน)
  • บ. เบทาโกร จำกัด
  • บ. สงขลาแคนนิ่ง จำกัด (มหาชน)
  • บ. แพนเอเชีย
  • บ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
  • บ. ซุปเปอร์ชีพ จำกัด (ภูเก็ต)
  • บ. วงศ์บัณฑิต จำกัด ฯลฯ
  • บ. บริดจสโตน เนเชอรัล รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

โอกาสการทำงานของบัณฑิต

สื่อประชาสัมพันธ์

แผ่นพับ
โพสเตอร์
ทำไมถึงเลือกเรียนสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร

ตอนที่เลือกเรียนคณะเข้ามหาลัยเลือกสาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรเป็นอันดับหนึ่งเลยค่ะ ถ้าถามว่าตอนนั้นทําไมถึงเลือกเรียนสาขานี้ จนตอนนี้ที่เรียนจบแล้วยังคงยืนยันคําตอบเดิมค่ะคือเศรษฐศาสตร์เกษตร คือศาสตร์ที่มีการประยุกต์และจับต้องได้ประกอบกับเทรนด์ของภาคธุรกิจเกษตรที่มีโอกาสเติบโตมากขึ้นเพิ่มโอกาสในการทํางานเศรษฐศาสตร์มีความยืดหยุ่นสามารถทํางานได้หลากหลายรู้สึกว่าเข้ากับตนเองที่ไม่ชอบลักษณะงานที่ประจํารูปแบบเดิม ๆ และมีความท้าทายค่ะ

รู้สึกสาขานี้ตรงกับเรามากเพราะนิสัยส่วนตัวที่ชอบเรียนรู้อะไรหลาย ๆ ด้านแต่คนส่วนใหญ่พอได้ยินชื่อสาขาหรือมีคําว่า “เกษตร” ลงท้ายจะบอกว่ามันเชยๆ แต่สําหรับแนนมองว่าเกษตรเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวและเป็นเรื่องที่หนีไม่พ้นเพราะเศรษฐกิจทางภาคการเกษตรเป็นเรื่องปากเรื่องท้องของคนและอีกอย่างแนนเองก็โตมากับครอบครัวที่มีพื้นฐานทําการเกษตร เพราะเห็นมาตั้งแต่เล็กทําให้รู้สึกเวลาเรียนเห็นภาพและเข้าใจกับมันได้ง่าย

เริ่มตั้งแต่ตอนปิดเทอมช่วง ม.6 ได้สนใจการลงทุนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจึงพยายามหาคณะที่มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันและได้มาเจอกับคณะเศรษฐศาสตร์จึงพยายามปรึกษากับพี่สาวที่กําลังเรียนปี 3 พี่สาวก็บอกว่าทางคณะมีสาขาแบ่งย่อยออกไปอีกซึ่งอีกสาขามีความเชื่อมโยงด้านการเกษตรมากกว่าและพี่สาวก็ให้ข้อมูลมาตัดสินใจโดยบอกว่าถ้าหากไม่ชอบสามารถเปลี่ยนสาขาได้ตอนปี 2 ผมก็เลยตัดสินใจเลือกคณะเศรษฐศาสตร์สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรเป็นอันดับ 1

งานวิจัยนักศึกษา
พฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ 2563
พฤติกรรมการบริโภคอาหารพร้อมบริโภคของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 2563
การปรับตัวของเกษตรกรชาวสวนยางขนาดเล็กต่อสถานการณ์ราคายางตกต่ำ ในอำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลา 2563
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อเนื้อสุกรของผู้บริโภค ในอำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง 2563
พฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2563
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคข้าวสารบรรจุถุงของผู้บริโภคในตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ์ จังหวัดสงขลา 2563
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรชาวสวนยางในอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 2563
พฤติกรรมการซื้อกาแฟผ่านช่องทางแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ 2563
ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ํามัน ในอําเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ 2563
แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงชันโรงบ้านคลองต่อ 2563
ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวหอมกระดังงาของเกษตรกรในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 2563
การจัดการการผลิตและการตลาดข้าวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่าช้างฟื้นฟูเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 2563
ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเขาเล่ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 2563
การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคกาแฟสดของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 2563
การศึกษาความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในการส่งออกยางแท่งของไทย ไปสาธารณรัฐประชาชนจีน 2563
การจัดการทางการเงินของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ 2563