เกี่ยวกับคณะฯ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Faculty of Economics, PSU
ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างการบริหาร
ข้อมูลและสถิติ
ประกันคุณภาพ QA
ติดต่อเรา
บุคลากร
ผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน
สาขาเศรษฐศาสตร์
บุคลากรชาวต่างประเทศ
สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและธุรกิจเกษตร
หลักสูตร
เศรษฐศาสตร์
ECONOMICS.
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการ
Agribusiness Economics and Management
การจัดการธุรกิจเกษตร (หลักสูตร ป.โท)
Master of Business Administration Program in Agribusiness Management (MAB)
นักศึกษา
บทความ
งานวิจัยนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการ
รายละเอียดงานวิจัย
เรื่อง
พฤติกรรมการบริโภคอาหารพร้อมบริโภคของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
อาจารย์ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรัตถ พรหมมี
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหารพร้อมบริโภคของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะทางสังคม และเศรษฐกิจของนักศึกษาที่บริโภคอาหารพร้อมบริโภค (2) พฤติกรรมการบริโภคอาหารพร้อมบริโภค (3) ทัศนคติของนักศึกษาที่บริโภคอาหารพร้อมบริโภคต่ออาหารพร้อมบริโภค (4) ปัจจัยทางการตลาด ที่มีผลต่อการตัดสินใจในการบริโภคอาหารพร้อมบริโภค (5) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารพร้อมบริโภค (6) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของนักศึกษาที่บริโภคอาหารพร้อมบริโภค ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่ โดยเก็บข้อมูลจากประชากรนักศึกษาปริญญาตรีตั้งแต่ปี 1-4 และเป็นผู้บริโภคอาหาร พร้อมบริโภค ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 120 ราย แบ่งเป็น 3 ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกลุ่มสังคมศาสตร์กลุ่มละ 40 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติไคสแควร์ (Chi-Squares Statistics) ผลการศึกษาสรุปผลได้ดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.8 ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 20 ปี ร้อยละ 58.3 โดยมีอายุเฉลี่ย 20.88 ปี เรียนในชั้นปีการศึกษาที่ 3 ร้อยละ 31.7 อาศัยอยู่หอพักนอกมหาวิทยาลัย ร้อยละ 46.7 มีรายได้ส่วนบุคคลระหว่าง 5,001-7,000 บาท/เดือน ร้อยละ 47.5 และมีรายจ่ายส่วนบุคคลมากกว่า 5,500 บาท/เดือน ร้อยละ 37.4 โดยมีรายได้ส่วนบุคคลเฉลี่ย และรายจ่ายส่วนบุคคลเฉลี่ยเท่ากับ 6,441.67 บาท/เดือน และ 5,287.50 บาท/เดือน ตามลำดับ โดยลักษณะการบริโภคอาหารแบบซื้ออาหารปรุงสำเร็จทุกมื้อ ร้อยละ 82.5 ประเภทอาหารที่นิยม รับประทานคือ อาหารตามสั่ง ร้อยละ 97.5 ซึ่งสถานที่ที่ซื้ออาหาร/บริโภคอาหารส่วนใหญ่คือ ร้านอาหาร ร้อยละ 88.3 มีค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารมากกว่า 65 บาท/มื้อ ร้อยละ 34.9 โดยมีค่าใช้จ่ายในการบริโภคอาหารเฉลี่ย 64.75 บาท/มื้อ ผู้มีบทบาทในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารพร้อมบริโภคของนักศึกษาส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง ร้อยละ 99.2 โดยมีแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับอาหารพร้อมบริโภคส่วนใหญ่จากอินเตอร์เน็ต ร้อยละ 89.2 ประเภทของอาหารพร้อมบริโภคที่นิยมซื้อคือ ข้าวหมู, ไก่ กระเทียม ร้อยละ 72.5 โดยเหตุผลของที่เลือกซื้ออาหารพร้อมบริโภคคือ หาซื้อได้ง่าย ร้อยละ 81.7 ซึ่งสถานที่ที่เลือกซื้ออาหาร พร้อมบริโภคทั้งหมด คือ เซเว่น-อิเลฟเว่น (7-11) ร้อยละ 100 นักศึกษาส่วนใหญ่มีร้านที่ซื้ออาหารพร้อมบริโภคเป็นประจำ ร้อยละ 96.8 โดยเหตุผลที่เลือกซื้อกับร้านประจำส่วนใหญ่เนื่องจาก ใกล้ที่พัก ร้อยละ 88.7 ซึ่งยี่ห้ออาหารพร้อมบริโภคที่บริโภคคือ อีซีโก ร้อยละ 98.3 ซึ่งใน 1 สัปดาห์ นักศึกษาบริโภคอาหารพร้อมบริโภค 3-4 วัน และ 1-2 วัน ร้อยละ 35.0 มื้อที่นิยมบริโภคอาหารพร้อมบริโภคคือมื้อดึก ร้อยละ 55.0 ซึ่งสถานที่ในการบริโภคอาหารพร้อมบริโภคคือ หอนอก ร้อยละ 47.5 ซึ่งซื้ออาหารพร้อมบริโภคส่วนใหญ่ 1 กล่อง/ครั้ง ร้อยละ 79.2 โดยซื้ออาหารพร้อมบริโภคเฉลี่ย 1.26 กล่อง/ครั้ง ราคาที่ซื้อเฉลี่ยระหว่าง 41-50 บาท/ครั้ง ร้อยละ 36.7 โดยราคาที่ซื้อเฉลี่ย 59.99 บาทต่อครั้ง นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าราคาที่ซื้อเหมาะสม ร้อยละ 88.3 ซึ่งอาหารพร้อมบริโภคแต่ละครั้งซื้อและบริโภคในทันทีร้อยละ 98.3 ซึ่งมีความถี่ในการซื้ออาหารพร้อมบริโภคไม่เกิน 2 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 35.0 โดยความถี่ในการซื้ออาหารพร้อมบริโภคเฉลี่ย 3.74 ครั้ง/สัปดาห์ และนักศึกษา มีค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารพร้อมบริโภคระหว่าง 101-200 บาท/สัปดาห์ร้อยละ 35.1 โดยค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารพร้อมบริโภคเฉลี่ย 265.58 บาท/สัปดาห์ จากการศึกษาทัศนคติของนักศึกษาที่บริโภคอาหารพร้อมบริโภคต่ออาหารพร้อมบริโภค พบว่า นักศึกษามีทัศนคติดีมากที่สุดในประเด็น อาหารพร้อมบริโภค มีความสะอาดและปลอดภัย และสามารถหาซื้อได้สะดวก ปัจจัยทางด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการบริโภคอาหารพร้อมบริโภคของนักศึกษาที่บริโภคอาหารพร้อมบริโภคในระดับมากที่สุดและมาก แบ่งได้ดังนี้ (1) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ตรายี่ห้อ และคุณภาพของอาหารพร้อมบริโภค (2) ปัจจัยด้านราคา ได้แก่ ราคาอาหาร พร้อมบริโภค และราคาสินค้า (3) ปัจจัยด้านสถานที่ ได้แก่ ความสะอาดของสถานที่ตั้งของร้านค้า และสถานที่ซื้อกระจายอยู่ทุกพื้นที่และเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง (4) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย ได้แก่คำแนะนำที่ดีของพนักงาน และมีส่วนลดราคาของสินค้า ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารพร้อมบริโภค ได้แก่ (1) ความถี่ในการซื้ออาหารพร้อมบริโภค พบว่า ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ เพศ อายุ และ ชั้นปี มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการซื้ออาหารพร้อมบริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ α = 0.05 (2) ค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารพร้อมบริโภค พบว่า ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ เพศ และกลุ่มวิชา มีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารพร้อมบริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ α = 0.05 (3) สถานที่ซื้ออาหารพร้อมบริโภค พบว่า ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ชั้นปีมีความสัมพันธ์กับสถานที่ซื้อ อาหารพร้อมบริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ α = 0.05 ส่วนปัญหา อุปสรรคของนักศึกษาที่บริโภคอาหารพร้อมบริโภคสามารถ ได้แก่ (1) ด้านผลิตภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ทนความร้อนไม่ได้ร้อยละ 11.7 (2) ด้านราคา ได้แก่ ไม่มีป้ายราคาระบุ ให้ชัดเจน และราคาไม่เหมาะสมกับคุณภาพ ร้อยละ 4.2 (3) ด้านช่องทางในการจัดจำหน่าย ได้แก่ สถานที่มีที่จอดรถไม่เพียงพอ ร้อยละ 5.8
ปีการศึกษา
2563