เกี่ยวกับคณะฯ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Faculty of Economics, PSU
ประวัติ วิสัยทัศน์ พันธกิจ
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างการบริหาร
ข้อมูลและสถิติ
ประกันคุณภาพ QA
ติดต่อเรา
บุคลากร
ผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน
สาขาเศรษฐศาสตร์
บุคลากรชาวต่างประเทศ
สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและธุรกิจเกษตร
หลักสูตร
เศรษฐศาสตร์
ECONOMICS.
เศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการ
Agribusiness Economics and Management
การจัดการธุรกิจเกษตร (หลักสูตร ป.โท)
Master of Business Administration Program in Agribusiness Management (MAB)
นักศึกษา
บทความ
งานวิจัยนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจเกษตรและการจัดการ
รายละเอียดงานวิจัย
เรื่อง
การปรับตัวของเกษตรกรชาวสวนยางขนาดเล็กต่อสถานการณ์ราคายางตกต่ำ ในอำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลา
อาจารย์ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิริรัตน์เกียรติปฐมชัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) การจัดการการผลิตและการจำหน่ายยางพาราของเกษตรกร 3) ผลกระทบจากสถานการณ์ราคายางตกต่ำที่มีผลต่อสภาพทางเศรษฐกิจครัวเรือนและการจัดการสวนยางของเกษตรกร 4) การปรับตัวในการประกอบอาชีพของเกษตรกรต่อสถานการณ์ราคายางตกต่ำ และ 5) ปัญหาในการทำสวนยางและแนวทางการปรับตัวในอนาคตของเกษตรกร รวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรเจ้าของสวนยางพาราที่มีพื้นที่สวนยางพาราไม่เกิน 50 ไร่ และสวนยางมีการเปิดกรีดแล้วในปี 2554-2563 ในตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิจังหวัดสงขลา จำนวน 80 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้สถิติอย่างง่าย และวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สถิติt (t-statistic) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 47.12 ปีร้อยละ 58.8 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.81 คน มีสมาชิกครัวเรือนที่ช่วยทำเกษตรเฉลี่ย 2.45 คน เกษตรกร ร้อยละ 92.5 เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร/กลุ่ม ร้อยละ 97.5 ทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก ร้อยละ 96.2 มีอาชีพเสริม มีรายได้ของครัวเรือนเฉลี่ย 19,125 บาท/เดือน มีรายได้จากสวนยางพาราเฉลี่ย 12,962.5 บาท/เดือน มีรายจ่ายครัวเรือนเฉลี่ย 17,912.5 บาท/เดือน เกษตรกรมีพื้นที่ถือครองทั้งหมดเฉลี่ย 13.61 ไร่ มีปริมาณเงินออมเฉลี่ย 18,660.97 บาท/ครัวเรือน ปริมาณหนี้สินเฉลี่ย 113,507.46 บาท/ครัวเรือน ร้อยละ 40.3 กู้เงินจาก ธ.ก.ส. และเกษตรกรร้อยละ 36.2 กู้เงินเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำสวนยางพาราเฉลี่ย 20.77 ปี มีพื้นที่สวนยางเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เฉลี่ย 11.8 ไร่ มีพื้นที่สวนยางพาราปัจจุบันเฉลี่ย 10.26 ไร่ เกษตรกรร้อยละ 83.8 ปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 ต้นยางที่เปิดกรีดแล้วมีอายุเฉลี่ย 22.33 ปีมีเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 1.57 ครั้ง/ปี ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ เฉลี่ย 42.90 กก./ไร่ มีการกำจัดวัชพืชเฉลี่ย 2.02 ครั้ง/ปี เกษตรกรร้อยละ 60 มีรูปแบบการกรีดยางแบบ กรีด 2 วัน เว้น 1 วัน ร้อยละ 93.8 ขายยางพาราในรูปแบบน้ำยางสด ได้รับปริมาณน้ำยางสดเฉลี่ย 60.3 กก./ครั้ง ได้รับเปอร์เซ็นต์ยางเฉลี่ย 33.02 %DRC ราคาน้ำยางสดสูงสุดที่ได้รับเฉลี่ย 172.72 บาท/กก.(3) ราคาน้ำยางสดต่ำสุดที่ได้รับเฉลี่ย 24.96 บาท/กก. ราคาน้ำยางสดในปัจจุบันที่ได้รับเฉลี่ย 40.52 บาท/กก. ราคาน้ำยางสดที่คิดว่าเหมาะสมเฉลี่ย 66.66 บาท/กก. เกษตรกรร้อยละ 75 ติดตามข่าวราคายางผ่านช่องทางออนไลน์ และเกษตรกรร้อยละ 78.8 ไม่มีการจดบันทึกข้อมูลการผลิตและการจำหน่าย สถานการณ์ราคายางตกต่ำมีผลกระทบต่อสภาพทางเศรษฐกิจครัวเรือน พบว่า รายได้จากสวนยาง จำนวนเงินออม ความถี่ในการออม และจำนวนเงินออมในแต่ละครั้งในช่วงยางราคาตกต่ำ (ปี 2562-2563) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ α = 0.05 ส่วนจำนวนหนี้สินในช่วงยางราคาตกต่ำ (ปี 2562-2563) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ α = 0.05 และมีผลกระทบต่อการจัดการสวนยางของ เกษตรกร พบว่า จำนวนครั้งที่ใช้ปุ๋ย ปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี จำนวนครั้งในการกำจัดวัชพืช และจำนวนการจ้างแรงงานกรีดของเกษตรกร ในช่วงราคายางสูงช่วงราคายางตกต่ำ (ปี 2562-2563) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ α = 0.05 เกษตรกรทั้งหมดมีการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเกษตรกรมีการปรับตัว 4 รูปแบบ ได้แก่ ร้อยละ 38.8 มีการลดต้นทุนการผลิตยางพารา ร้อยละ 8.8 มีการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลิตพารา ร้อยละ 90 มีการสร้างรายได้เสริมทางการเกษตรนอกจากยางพารา และร้อยละ 41.3 มีการสร้างรายได้นอกเกษตร เกษตรกรทั้งหมดประสบปัญหาในการทำสวนยางพาราราคายางตกต่ำ เกษตรกรทั้งหมดได้รับความช่วยเหลือหรือการสนับสนุนจากรัฐบาลในโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง เกษตรกรร้อยละ 84.8 มีความต้องการให้ยางพารามีราคาสูงขึ้น หากราคายางพารายังคงตกต่ำ เกษตรกรร้อยละ 70 มีแนวทางการปรับตัวในอนาคตโดยประกอบอาชีพเสริมต่อไป
ปีการศึกษา
2563